ข้ามไปเนื้อหา

ไนต์วิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไนท์วิช)
ไนต์วิช
ไนต์วิชขณะกำลังแสดงสดภายใต้ชื่อทัวร์ Endless Forms Most Beautiful World Tour ในเดือนพฤศจิกายนปี 2015
ไนต์วิชขณะกำลังแสดงสดภายใต้ชื่อทัวร์ Endless Forms Most Beautiful World Tour ในเดือนพฤศจิกายนปี 2015
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดกิเต ประเทศฟินแลนด์
แนวเพลง
ช่วงปี1996–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
  • สไพน์ฟาร์ม
  • นิวเคลียร์บลาสต์
  • โรดดรันเนอร์
  • เซนจูรีมีเดีย
  • ดราคคาร์เอนเตอร์เทนเมนต์
สมาชิก
  • ตัวมัส โฮโลไปเนน
  • เอมป์ปุ วัวริเนน
  • มาร์โก เฮียตาลา
  • ทรอย โดนอคลีย์
  • โฟลร์ ยันเซิน
  • ไก ฮาห์โต
อดีตสมาชิก
  • ยุกกา เนวาไลเนน
  • อาเนตต์ อูลซอน
  • ตารยา ตุรุเนน
  • ซามิ แวนสแก
เว็บไซต์nightwish.com

ไนต์วิช (อังกฤษ: Nightwish) เป็นวงดนตรีประเภทซิมโฟนิกเมทัลร้องเพลงภาษาอังกฤษจากประเทศฟินแลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดยนักร้องนำ-ประสานเสียงชาย นักแต่งเพลงหลักและมือคีย์บอร์ด ตัวมัส โฮโลไปเนน มือกีตาร์ เอมป์ปุ วัวริเนน และนักร้องนำหญิง ตารยา ตุรุเนน วงได้มือกลอง ยุกกา เนวาไลเนน และมือเบส ซามิ แวนสแก เข้าร่วมอัดในสตูดิโอแรก แองเจิลส์ฟอลเฟิร์สท (Angels Fall First) (1997) ในปี 2002 แวนสแก ก็ได้ออกจากวงและได้มาร์โก เฮียตาลา มาเล่นเบสให้แทน ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเล่นตำแหน่งร้องเสียงชาย ก่อนจะมาเป็นโฮโลไปเนนในปัจจุบัน[1]

ไนต์วิทช์ได้กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะหนึ่งในวงผู้บุกเบิกวงการซิมโฟนิกเมทัล โดยเฉพาะเอกลักษณ์ทางเสียงอันโดดเด่นของตูรูเนนที่นำเอาเสียงร้องแบบโอเปราเข้ามาผสมกับดนตรีเมทัล รวมถึงเนื้อเพลงที่เกี่ยวข้องบทละครดรามา ละครโศกนาฏกรรม จนทำให้ยกย่องว่าเป็น "โอเปราเมทัล" ซึ่งมีอิทธิพลต่อศิลปินอื่นอีกเป็นจำนวนมาก จนทำให้เกิดแนวย่อยขึ้นมาอีกหลายสาย นอกจากการร้องเสียงหญิงโดยหลักแล้ว วงมักจะใช้เสียงชายมาร้องประกอบเกือบทุกซิงเกิล โดยมีโฮโลไปเนนเป็นผู้ร้อง แต่ก็มีซิงเกิลอย่าง "While Your Lips Are Still Red" ที่ร้องโดยมาร์โก เฮียตาลาทั้งเพลง

แม้ว่าไนต์วิชจะมีชื่อเสียงอย่างมากในประเทศฟินแลนด์นับตั้งแต่อัลบั้มเปิดตัว แต่วงก็ไม่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันในระดับนานาชาติ จนกระทั่งได้ออกอัลบั้ม โอเชียนบอร์น (Oceanborn) (1998) วิชมาสเตอร์ (Wishmaster) (2000) และ เซนจูรีชายด์ (Century Child) (2002) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัลบั้ม วันซ์ (Once) ที่จำหน่ายได้มากถึง 1 ล้านก็อปปี้[2] วงได้เข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา ด้วยซิงเกิลฮิตอย่าง "Wish I Had an Angel" (2004) ซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากทั้งออกอากาศผ่านเอ็มทีวี และรวมไปถึงเป็นซาวด์แทร็กในภาพยนตร์ของสหรัฐถึง 3 เรื่องเพื่อเป็นการโปรโมตทัวร์ของวงในอเมริกาเหนือ[3][4] นอกจากนี้ในอัลบั้ม วันซ์ วงยังได้ออกโบนัสซิงเกิลไปอีก 2 ซิงเกิลและทำมิวสิกวีดิโออีก 3 วีดิโอ เช่นเดียวกับนำซิงเกิล "Sleeping Sun" มาบันทึกเสียงใหม่ ในอัลบั้ม ไฮเอสต์โฮปส์ (Highest Hopes) (2005) ซึ่งเป็นอัลบั้มเรียบเรียงซิงเกิลฮิตอีกด้วย ก่อนที่ทูรูเนินจะออกจากวงในเดือนตุลาคม 2005[3] ก็ได้ร่วมบันทึกเสียงอัลบั้มแสดงสด เอนด์ออฟเอรา (End of an Era) ภายหลังจบคอนเสิร์ต สมาชิกวงก็ได้ออกมาเปิดเผยจดหมายของตุรุเนนว่าไม่อาจจะอยู่กับไนต์วิชได้ต่อไป

ในเดือนพฤษภาคม 2007 ไนต์วิชประกาศนักร้องนำหญิงใหม่ อาเนตต์ อูลซอน[5] ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน วงก็ได้ออกอัลบั้มที่ 6 ดาร์คแพสชันเพลย์ (Dark Passion Play) ซึ่งจำหน่ายได้เกือบ 2 ล้านก็อปปี้ โดยมีซิงเกิลหลักอย่าง "Amaranth" ที่เป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุโรปของไนต์วิช[6] ตามมาด้วยทัวร์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในทัวร์ที่ยิ่งใหญ่และยาวนานที่สุดของวงซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2007 ไปจนกระทั่งวันที่ 19 กันยายน 2009[7][8] วงได้ออกอีพี/อัลบั้มแสดงสด เมดอินฮ่องกง (แอนด์อินวาเลียซออเทอร์เพลสเซส) (Made in Hong Kong (And in Various Other Places)) และเดือนมีนาคม 2009 ในรูปแบบซีดี/ดีวิดี ในช่วงปลายปี 2011/ต้น 2012 วงได้ออกอัลบั้มซึ่งจำหน่ายในวันไม่ตรงกัน อิมเมจิเนรัม (Imaginaerum)[2][9]

ในวันที่ 1 ตุลาคม 2012 ไนต์วิชประกาศออลซันได้ออกจากวงในช่วงทัวร์โดยได้อดีตนักร้องหญิงนำวง รีแวมพ์ (ReVamp) โฟลร์ ยันเซิน (Floor Jansen)[10][11] มาแทนจนถึงปัจจุบัน และเดือนมีนาคม 2015 ไนต์วิชก็ได้ออกอัลบั้ม เอนด์เลสฟอร์มสโมสต์บิวตีฟูล (Endless Forms Most Beautiful) ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกที่ยันเซนได้มาร่วมอัดสตูดิโออัลบั้ม

ไนต์วิช เป็นวงที่ประสบความสำเร็จได้ด้านยอดขายเป็นอันดับที่ 3 ในฟินแลนด์ ด้วยยอดการยืนยันจำหน่ายประมาณ 900,000 ก็อปปี้[12][13][14][15][16] ไนต์วิชยังถือว่าเป็นวงที่สร้างชื่อเสียงให้กับฟินแลนด์มากที่สุด เป็นวงที่ไปโด่งดังในระดับนานาชาติเพียงไม่กี่วงของฟินแลนด์ ด้วยยอดจำหน่ายทั่วโลกมากกว่า 8 ล้านก็อปปี้และได้รับการยืนยันการจำหน่ายมากกว่า 60 ทองและแพลตตินัม มีอัลบั้มที่เปิดตัวด้วยอันดับ 1 ถึง 5 อัลบั้มและอันดับ 1 บนชาร์ทกว่า 13 ซิงเกิล[17]

สมาชิก[แก้]

ตารยา ตุรุเนน นักร้องหญิงที่มีเสียงอันทรงพลังจนทำให้ซิมโฟนิกได้รับการกล่าวขวัญในฐานะ "โอเปราเมทัล"

สมาชิกปัจจุบัน[แก้]

  • ตัวมัส โฮโลไปเนน (Tuomas Holopainen) – คีย์บอร์ด, เปียโน, สังเคราะห์เสียง (1996–ปัจจุบัน), เสียงร้อง (1996–2001)
  • เอมป์ปุ วัวริเนน (Emppu Vuorinen) – กีตาร์ไฟฟ้า (1996–ปัจจุบัน), กีตาร์เบส (1996–1997)
  • มาร์โก เฮียตาลา (Marco Hietala) – กีตาร์เบส, เสียงร้อง (2001–ปัจจุบัน)
  • ทรอย โดนอคลีย์ (Troy Donockley) – ไปป์, นักหวีอันละไพ, โบโซกิ, บอดฮ์รัน, กีตาร์, ประสานเสียง (2013–ปัจจุบัน; สมาชิกครั้งคราว: 2007–2013)
  • โฟลร์ ยันเซิน (Floor Jansen) – ร้องนำ (2013–ปัจจุบัน; สมาชิกทัวร์: 2012–2013)
  • ไก ฮาห์โต (Kai Hahto) – กลอง <2019–ปัจจุบัน; ; สมาชิกทัวร์: 2014–2019)

สมาชิกเก่า[แก้]

  • ตารยา ตุรุเนน (Tarja Turunen) – ร้องนำ (1996–2005)
  • ซามิ แวนสแก (Sami Vänskä) – กีตาร์เบส (1998–2001)
  • อาเนตต์ อูลซอน (Anette Olzon) – ร้องนำ (2007–2012)
  • ยุกกา เนวาไลเนน (Jukka Nevalainen) – กลอง (1997–2019)

ไทม์ไลน์[แก้]

อัลบั้ม[แก้]

  • Angels Fall First (1997)
  • Oceanborn (1998)
  • Wishmaster (2000)
  • Century Child (2002)
  • Once (2004)
  • Dark Passion Play (2007)
  • Imaginaerum (2011)
  • Endless Forms Most Beautiful (2015)
  • Human. :II: Nature. (2020)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Nightwish Biography". TheTableWorld.com. สืบค้นเมื่อ 2010-07-07.
  2. 2.0 2.1 "Spinefarm". Spinefarm.fi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-27. สืบค้นเมื่อ 2011-01-11.
  3. 3.0 3.1 "Nightwish Official Biography". Nightwish.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-02. สืบค้นเมื่อ 2010-06-05.
  4. "The Cave: Music theme". Soundtrack.net. สืบค้นเมื่อ 2009-10-16.
  5. "Nightwish Announces New Singer". RoadRunnerRecords.com. 2007-05-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-01. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  6. "Nightwish – The Official Website". Nightwish.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-17. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
  7. "Nightwish Live- 2007". Nightwish.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-15. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
  8. "Nightwish Live- 2009". Nightwish.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-02. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
  9. "NIGHTWISH: "Imaginaerum" - release date". Nuclearblast.de. สืบค้นเมื่อ 2012-04-17.
  10. "Press statement - October 1, 2012". Facebook. 2012-10-01. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
  11. CROMCarl. "Nightwish Singer Anette Olzon Splits With Band". Metalunderground.com. สืบค้นเมื่อ 2012-10-01.
  12. "Nightwish". Musiikkituottajat – IFPI Finland (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  13. "Kaikkien aikojen myydyimmät kotimaiset albumit". Musiikkituottajat - IFPI Finland (ภาษาฟินแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  14. "Kaikkien aikojen myydyimmät ulkomaiset albumit". Musiikkituottajat - IFPI Finland (ภาษาฟินแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  15. "Kaikkien aikojen myydyimmät kotimaiset singlet". Musiikkituottajat - IFPI Finland (ภาษาฟินแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  16. "Kaikkien aikojen myydyimmät ulkomaiset singlet". Musiikkituottajat - IFPI Finland (ภาษาฟินแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 2012-01-29.
  17. "Nightwish - Once". finnishcharts.com. 2015. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.