ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Hungarian Revolution of 1848)
การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1848

ซานโดร์ แปเตอฟี ขับร้องเพลงชาติท่ามกลางฝูงชนเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1848 วาดโดยมิฮาย ซิตชี
วันที่15 มีนาคม ค.ศ. 1848 – 4 ตุลาคม ค.ศ. 1849
(1 ปี 6 เดือน และ 19 วัน)
สถานที่
ผล

ออสเตรีย-รัสเซียชนะ; การปฏิวัติถูกปราบปราม

คู่สงคราม
  • หน่วยทหารปฏิวัติจากบรรดารัฐเยอรมัน
  • หน่วยทหารโปแลนด์
  • หน่วยทหารอิตาลี
  • ชาวเซแกย์
  • ชาวยิวฮังการี
  • ชาวเยอรมันเชื้อสายฮังการี
  • ชาวสโลวีนเชื้อสายฮังการี
  • ชาวสโลวักฝักใฝ่ฮังการี
  • ชาวโรมาเนียฝักใฝ่ฮังการี
  • ชาวเซิร์บฝักใฝ่ฮังการี
  • ชาวรูซึนฝักใฝ่ฮังการี
  • ชาวแซกซันซิพเซอร์
  • ชาวโครแอตจากเวสเทิร์นฮังการีและ Muraköz
  • ชาว Šokac และ Bunjevac
  • ชาวบัลแกเรียบานัต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
170,000 นาย จากจักรวรรดิออสเตรีย
และ 200,000 นาย จากจักรวรรดิรัสเซีย[2]
ช่วงต้น ค.ศ. 1849: 170,000 นาย[3]

การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848[a] เป็นหนึ่งในบรรดาการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในยุโรปเมื่อ ค.ศ. 1848 ซึ่งมีความเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับเหตุการณ์ปฏิวัติ ค.ศ. 1848 ในพื้นที่ฮาพส์บวร์คอื่น ๆ แม้ว่าผลลัพธ์ของเหตุการณ์จะล้มเหลว แต่การปฏิวัติครั้งนี้นับเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ฮังการีสมัยใหม่ และยังได้สร้างรากฐานของเอกลักษณ์ประจำชาติฮังการีสมัยใหม่ด้วย โดยในวันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี ได้รับการกำหนดเป็นวันหยุดประจำชาติของประเทศ เนื่องในโอกาสครบรอบการปฏิวัติ

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1848 ฮังการีเป็นประเทศลำดับที่สามในยุโรปภาคพื้นทวีป (หลังจากฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1791 และเบลเยียมใน ค.ศ. 1831) ที่ตรากฎหมายการเลือกตั้งรัฐสภาแบบประชาธิปไตย โดยกฎหมายสิทธิออกเสียงเลือกตั้งฉบับใหม่ (มาตรา 5 ค.ศ. 1848) ได้เปลี่ยนระบบรัฐสภาศักดินาแบบเก่าเป็นระบบรัฐสภาผู้แทนประชาธิปไตย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ให้สิทธิการลงคะแนนเสียงอย่างกว้างขวางที่สุดในยุโรปเวลานั้น[4] อีกทั้งกฎหมายเดือนเมษายนยังได้ลบล้างอภิสิทธิ์ทั้งหมดของขุนนางฮังการีไปอย่างสิ้นเชิง[5]

จุดเปลี่ยนสำคัญของเหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจากจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรียพระองค์ใหม่ทรงเพิกถอนกฎหมายเดือนเมษายน (ให้สัตยาบันโดยจักพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1) โดยพลการ ซึ่งพระองค์ปราศจากพระราชอำนาจตามกฎหมายที่ทรงกระทำเช่นนั้น กระกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญทำให้ความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับรัฐสภาฮังการีทวีความรุนแรงขึ้นอย่างไม่อาจกลับคืน จากการประกาศรัฐธรรมนูญเดือนมีนาคมที่บีบบังคับฉบับใหม่ของออสเตรีย การระงับกฎหมายเดือนเมษายน และการส่งทหารเข้าปะทะกับราชอาณาจักรฮังการี เป็นเหตุให้รัฐบาลสันตินิยมของลอโยช บ็อจจาญีสิ้นสุดลง และผู้สนับสนุนลอโยช โกชุต (ซึ่งต้องการความเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ของฮังการี) ได้รับอำนาจในรัฐสภาอย่างกะทันหัน การแทรกแซงทางทหารของออสเตรียในราชอาณาจักรฮังการีส่งผลให้เกิดความรู้สึกต่อต้านราชวงศ์ฮาพส์บวร์คอย่างแข็งขันในหมู่ชาวฮังการี และสถานการณ์ภายในฮังการีกลับกลายเป็นสงครามเพื่อเอกราชโดยสมบูรณ์จากจักรวรรดิออสเตรีย ประมาณ 40% ของพลทหารในกองทัพอาสาสมัครฮังการีประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยในประเทศ[6] เมื่อพิจารณาจากเสนาธิการทหารฮังการีแล้ว ประมาณครึ่งหนึ่งของนายทหารและนายพลของกองทัพโฮนเวดฮังการี (ฮังการี: Magyar Királyi Honvédség) ล้วนเป็นชาวต่างชาติ ส่วนนายทหารชำนาญการที่มีชาติพันธุ์ฮังการีในกองทัพหลวงฮาพส์บวร์คมีจำนวนมากเทียบเท่ากับกองทัพปฏิวัติฮังการี[7]

ในด้านการทูตและนโยบายระหว่างประเทศในระหว่างการปฏิวัติ ฝ่ายเสรีนิยมฮังการี (เช่นเดียวกันกับฝ่ายปฏิวัติเสรีนิยมในยุโรปอื่น ๆ เมื่อ ค.ศ. 1848) ได้รับแรงบันดาลใจหลักมาจากการพิจารณาถึงอุดมการณ์ โดยพวกเขาสนับสนุนประเทศและกองกำลังที่สอดคล้องกับมาตรฐานทางศีลธรรมและการเมืองใหม่ของพวกเขา อีกทั้งพวกเขายังเชื่อว่ารัฐบาลและขบวนการทางการเมืองที่ยึดหลักเสรีนิยมสมัยใหม่เหมือนกันควรสร้างพันธมิตรต่อต้าน "ระบบเจ้าขุนมูลนาย" ของระบอบราชาธิปไตย ซึ่งมุมมองในลักษณะนี้มีความคล้ายคลึงกับลัทธิอยู่ร่วมกันระหว่างประเทศแบบเสรีนิยม (liberal internationalism) สมัยใหม่[8]

หลังจากความพ่ายแพ้อย่างร้ายแรงของออสเตรียอยู่หลายครั้งใน ค.ศ. 1849 จักรวรรดิออสเตรียเข้าใกล้ขอบเขตของการล่มสลาย จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 พระองค์ใหม่จึงทรงขอความช่วยเหลือจากรัสเซียในนามของพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์[9] จักรพรรดินีโคไลที่ 1 พระราชทานกำลังทหารอันแข็งแกร่ง 200,000 นาย พร้อมด้วยกองกำลังเสริม 80,000 นาย ซึ่งท้ายที่สุดกองทัพรัสเซีย-ออสเตรียสามารถพิชิตกองกำลังของฮังการีได้สำเร็จ ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คกลับมามีอำนาจอีกครั้ง และมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในฮังการี[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในฮังการียังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ การปฏิวัติพลเรือนและสงครามประกาศอิสรภาพฮังการี ค.ศ. 1848–1849 (ฮังการี: 1848–49-es polgári forradalom és szabadságharc)

อ้างอิง[แก้]

  1. Rosonczy: OROSZ GYORSSEGÉLY BÉCSNEK 1849 TAVASZÁN (PhD dissertation 2015)
  2. Zachary C Shirkey: Joining the Fray: Outside Military Intervention in Civil Wars Military Strategy and Operational Art – pp. 1944– ISBN 978-1-4094-7091-5 [1] เก็บถาวร 2014-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. A Global Chronology of Conflict: From the Ancient World to the Modern Middle ..., by Spencer C. Tucker, 2009 p. 1188
  4. prof. András Gerő (2014): Nationalities and the Hungarian Parliament (1867–1918) Link:[2] เก็บถาวร 2019-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Chris Thornhill (2011). A Sociology of Constitutions.Constitutions and State Legitimacy in Historical-Sociological Perspective. Cambridge University Press. p. 245. ISBN 978-1-139-49580-6.
  6. "Bona Gábor: A szabadságharc honvédsége Link
  7. Isser Woloch (1996). Revolution and the Meanings of Freedom in the Nineteenth Century. Stanford University Press. p. 309. ISBN 978-0-8047-2748-8.
  8. "Hungary's Place in Europe: Liberal–Conservative Foreign Policy Disputes in the Reform Era". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2023. สืบค้นเมื่อ 30 July 2023.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  9. Eric Roman: Austria-Hungary & the Successor States: A Reference Guide from the Renaissance to the Present: p. 67, Publisher: Infobase Publishing, 2003 ISBN 978-0-8160-7469-3
  10. The Making of the West: Volume C, Lynn Hunt, pp. 683–684

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Barany, George. "The awakening of Magyar nationalism before 1848." Austrian History Yearbook 2 (1966) pp: 19–50.
  • Cavendish, Richard. "Declaration of Hungary's Independence: April 14th, 1849." History Today 49#4 (1999) pp: 50–51
  • Deák, István. Lawful Revolution: Louis Kossuth and the Hungarians 1848–1849 (Phoenix, 2001)
  • Deme, László. "The Society for Equality in the Hungarian Revolution of 1848." Slavic Review (1972): 71–88. in JSTOR
  • Gángó, Gábor. "1848–1849 in Hungary," Hungarian Studies (2001) 15#1 pp 39–47. online
  • Horváth, Eugene. "Russia and the Hungarian Revolution (1848–9)." Slavonic and East European Review 12.36 (1934): 628–645. online
  • Judah, Tim (1997). The Serbs: History, Myth & the Destruction of Yugoslavia. New Haven, CT: Yale. ISBN 978-0-300-08507-5.
  • Kosáry, Domokos G. The press during the Hungarian revolution of 1848–1849 (East European Monographs, 1986).
  • Nobili, Johann. Hungary 1848: The Winter Campaign. Edited and translated Christopher Pringle. Warwick, UK: Helion & Company Ltd., 2021.
  • Lincoln, W.B. "Russia and the European Revolutions of 1848" History Today (Jan 1973), Vol. 23 Issue 1, pp 53–59 online.
  • Marx, Karl; Engels, Friedrich. "Articles from the Neue Rheinische Zeitung: March 6—May 19, 1849". Collected Works. Vol. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-09 – โดยทาง Marxists.
  • Szilassy, Sandor. "America and the Hungarian Revolution of 1848–49." Slavonic and East European Review (1966): 180–196. in JSTOR

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]