การออกแบบให้หมดอายุขัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชฟโรเลต 1923 เป็นหนึ่งในตัวอย่างชิ้นแรก ๆ ของการเปลี่ยนแค่เปลือกรายปี (annual facelifts) ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ผ่านการเปลี่ยนเพียงบอดี้ของรถซึ่งยังใช้เทคโนโลยีเดิมจากเก้าปีก่อน[1]

ในเศรษฐศาสตร์และการออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบให้หมดอายุขัย[2] หรือ การออกแบบให้หมดอายุก่อนวัยอันควร (อังกฤษ: planned obsolescence, built-in obsolescence หรือ premature obsolescence) เป็นนโยบายในการวางแผนหรืออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุขัยการใช้งานที่จำกัด หรือออกแบบให้ออกมาอ่อนแอเพื่อที่จะถูกทิ้ง (obsolete) หลังจากการใช้เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ประเมินมาแล้ว เมื่อสิ้นสุดอายุขัยที่กำหนด ผลิตภัณฑ์อาจไม่สามารถใช้งานได้หรือตกยุค[3] วิธีคิดเบื้องหลังแผนนี้คือการสร้างปริมาตรการค้าในระยะยาวผ่านการลดทอนเวลาระหว่างการซื้อผลิตภัณฑ์ หรือที่เรียกว่า "การย่นย่อวัฏจักรการเปลี่ยนทดแทน" (shortening the replacement cycle)[4] การลดอายุขัยการใช้งานของผลิตภัณฑ์ลงโดยจงใจนำไปสู่การที่ผู้บริโภคมีความจำเป็นต้องซื้อสินค้าใหม่อยู่เรื่อย ๆ[5]

การออกแบบให้หมดอายุขัยมักจะทำงานได้ดีที่สุดในกรณีที่ผู้ผลิตอย่างน้อยมีคู่แข่งน้อยรายในตลาด[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Annual model change was the result of affluence, technology, advertising. Automotive News, September 14, 2008
  2. ปรากฏใช้คำนี้ใน The Momentum และ ADay เก็บถาวร 2021-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Bulow, Jeremy (November 1986). "An Economic Theory of Planned Obsolescence" (PDF). The Quarterly Journal of Economics. Oxford University Press. 101 (4): 729–749. doi:10.2307/1884176. JSTOR 1884176. S2CID 154545959. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-19.
  4. Bidgoli, Hossein (2010). The Handbook of Technology Management, Supply Chain Management, Marketing and Advertising, and Global Management. Wiley. p. 296. ISBN 978-0470249482.
  5. Giles Slade (2006), "Made to Break: Technology and Obsolescence in America", Harvard University Press, p5.
  6. Orbach, Barak (2004). "The Durapolist Puzzle: Monopoly Power in Durable-Goods Market". Yale Journal on Regulation. 21: 67–118. SSRN 496175.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]