นครลำปาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองนครลำปางประเทศราช

นครลำปาง
พ.ศ. 2270–พ.ศ. 2442
  อาณาเขตนครลำปาง
สถานะนครรัฐเอกราชโดยพฤตินัย (2270-หลัง 2275, 2295-2300)

ประเทศราชของราชวงศ์ตองอู (หลัง 2275-2295) ประเทศราชของราชวงศ์โก้นบอง (2300[1]-2317)

ประเทศราชของอาณาจักรธนบุรีและรัตนโกสินทร์ (2317-2442)
เมืองหลวงนครลำปาง
ภาษาทั่วไปคำเมือง
ศาสนา
ศาสนาพุทธ (เถรวาท)
การปกครองราชาธิปไตย
เจ้าผู้ครองนคร 
• พ.ศ. 2275–2468
ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน
ประวัติศาสตร์ 
• พม่าสิ้นอิทธิพลจากดินแดนล้านนาตอนล่าง
พ.ศ. 2270
พ.ศ. 2275
• สวามิภักดิ์ต่อสยาม
พ.ศ. 2317
• พงศาวดารสยามรับรองสถานะประเทศราช[2]
พ.ศ. 2357
พ.ศ. 2442
สกุลเงินรูปี[3]
ก่อนหน้า
ถัดไป
2270:
หัวเมืองเชียงใหม่
2442:
มณฑลลาวเฉียง
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

นครลำปาง เป็นประเทศราชของราชวงศ์ตองอูและราชวงศ์โก้นบองโดยแยกตัวออกมาจากการปกครองของเชียงใหม่ ภายหลังตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรธนบุรีและรัตนโกสินทร์ และได้รับนาม เมืองนครลำปางประเทศราช[4]

ประวัติศาสตร์[แก้]

การก่อตัวของรัฐ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2270/2271 (จ.ศ. 1089) กบฏตนบุญเทพสิงห์โค่นล้มผู้ปกครองพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ทำให้เกิดสภาวะสุญญากาศทางการเมืองในดินแดนล้านนาตอนล่าง แม้ว่าพม่าพยายามที่จะย้ายศูนย์กลางการปกครองไปยังเชียงแสน[5] แต่หัวเมืองล้านนาตอนล่างต่างแยกตัวเป็นอิสระและปกครองตนเองในลักษณะเดียวกับชุมนุมต่างๆหลังเสียกรุงครั้งที่ 2[6] รวมถึงนครลำปาง ซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกบฏตนบุญวัดนายาง[7] ชื่อเสียงของตนบุญวัดนายางเป็นที่เลื่องลือจนดึงดูดการรุกรานจากเมืองลำพูนในปี พ.ศ. 2272/2273 (จ.ศ. 1091) หนานทิพย์ช้างได้ขับไล่กองทัพลำพูนออกไปและได้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง มีพระนามว่า พญาสุลวฦๅไชย[8] ต่อมาพญาสุลวฦๅไชยทรงส่งบรรณาการผ่านเชียงตุงไปยังอังวะ เพื่อขอการรับรองสถานะและความคุ้มครองจากพม่าในฐานะประเทศราช[9]

เมื่อราชวงศ์ตองอูล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2295 นครลำปางได้รับอิสรภาพเป็นช่วงสั้นๆ ก่อนที่ราชวงศ์โก้นบองจะสามารถรวบรวมอาณาจักรพม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2300 และทำให้นครต่างๆในดินแดนล้านนาต่างส่งบรรณาการมาสวามิภักดิ์[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2306 กองทัพพม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงตั้งตัวเป็นอิสระอยู่ พร้อมทั้งปราบปรามหัวเมืองอื่นๆในล้านนา ในช่วงเวลานั้น มีการแย่งชิงอำนาจภายในนครลำปางระหว่างเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วและท้าวลิ้นก่าน พม่าจึงสนับสนุนเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วเพื่อควบคุมนครลำปาง แต่ผู้ปกครองพม่าไม่สามารถควบคุมเมืองต่างๆได้อย่างสมบูรณ์[6] นครลำปางร่วมกับเมืองต่างๆก่อกบฏต่อพม่า จนกระทั่งถูกปราบลงในปี พ.ศ. 2309[10] ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองพม่าและผู้ปกครองท้องถิ่นยังคงดำเนินต่อไป เป็นเหตุให้นครลำปางสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรธนบุรีในสงครามเชียงใหม่ พ.ศ. 2317

นครลำปางในฐานะประเทศราชของสยาม[แก้]

หลังจากได้รับสถานะประเทศราชของสยาม นครลำปางกลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญในการฟื้นฟูนครเชียงใหม่และการรับศึกจากพม่า ต่อมานครลำปางร่วมมือกับนครเชียงใหม่ นครแพร่ และนครน่านขยายอำนาจสู่ดินแดนของเชียงแสนซึ่งยังคงถูกปกครองโดยพม่า[5] จนในที่สุดก็สามารถทำลายเมืองเชียงแสนได้ในปี พ.ศ. 2347 จากนั้นนครลำปางร่วมมือกับนครเชียงใหม่และนครลำพูนอันเป็นเครือญาติในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนขยายอำนาจสู่ดินแดนรัฐเมืองยอง กลุ่มนครรัฐไทลื้อและเชียงรุ่ง[6][9] นอกจากนี้ นครลำปางยังร่วมกับฝ่ายสยามในการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์[11]และทำสงครามเชียงตุง เนื่องจากอาณาเขตนครลำปางถูกล้อมรอบด้วยรัฐพันธมิตรทำให้ไม่สามารถขยายดินแดนได้ นครลำปางจึงใช้วิธีกวาดต้อนผู้คนจากเมืองที่ตีได้มาฟื้นฟูบ้านเมืองแทน

ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 สยามเริ่มได้รับผลกระทบจากการขยายอำนาจของชาติตะวันตก สยามจึงเร่งผนวกประเทศราชต่างๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ในปี พ.ศ. 2442 สยามประกาศจัดตั้งมณฑลลาวเฉียง ทำให้สถานะประเทศราชของนครลำปางสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม เจ้าผู้ครองนครลำปางยังคงมีตำแหน่งเจ้าและมีอำนาจในการปกครองบางส่วน[6] จนกระทั่งสยามเริ่มมีนโยบายไม่แต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครในปี พ.ศ. 2469[12] ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปางจึงสิ้นสุดลง

อาณาเขตของนครลำปาง (ซ้ายล่าง) โดยเฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สมิธ เจ้ากรมราชโลหกิจและภูมิวิทยาของสยาม ระหว่าง พ.ศ. 2438-2439[13]

รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง[แก้]

การปกครอง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Harvey, Godfrey Eric (1925). History of Burma: from the Earliest Times to 10 March, 1824: The Beginning of the English Conquest. United Kingdom: Longmans, Green and Company. p. 241. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  2. ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระ (1916), พระราชพงษาดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ [Royal Chronicle of the Kingdom of Rattanakosin: Second Reign] (PDF), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย, pp. 173–176, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14
  3. "ทำไม "รูปีอินเดีย" จึงนิยมใช้ในล้านนา และเป็นเงินสกุลสำคัญของเศรษฐกิจ". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  4. "จารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ทิศเหนือ (เมืองเวียงดิน เมืองพยาว เมืองนครลำปาง เมืองจาง)". ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย. 12 March 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-04. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
  5. 5.0 5.1 อ๋องสกุล, สรัสวดี (2003). เอียวศรีวงศ์, นิธิ (บ.ก.). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. pp. 170, 246. ISBN 9742726612.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 อินปาต๊ะ, บริพัตร (2017). การฟื้นฟูรัฐน่านในสมัยราชวงศ์หลวงติ๋น พ.ศ. 2329-2442 (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. pp. 27, 30, 68–69, 202. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-19. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
  7. แซ่เซียว, ลัดดาวัลย์ (2545). 200 ปี พม่าในล้านนา. กรุงเทพฯ: โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค. p. 140. ISBN 9747206099. สืบค้นเมื่อ 2024-05-12.
  8. ชิวารักษ์, พริษฐ์ (13 August 2023). "ล้านนาปฏิวัติ: การต่อสู้ของตนบุญในประวัติศาสตร์ล้านนา (ตอนสอง)". The101.world. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-02-24. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
  9. 9.0 9.1 สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, บ.ก. (1971), ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ [Tamnan Phuen Mueang Chiang Mai] (PDF), แปลโดย โชติสุขรัตน์, สงวน, พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, pp. 88, 123–125, สืบค้นเมื่อ 2024-04-11
  10. โบราณคดีสโมสร, บ.ก. (1919), "ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน" [Ratchawongsapakon Phongsawadan Mueang Nan], ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๐ [Collection of Historical Archives] (PDF), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14
  11. แก้วศรี, ทรงวิทย์; วีระประจักษ์, ก่องแก้ว, บ.ก. (1987), จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๓ (PDF), กรุงเทพฯ: รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, pp. 131–132, ISBN 974-7912-02-3, สืบค้นเมื่อ 2024-05-12
  12. ขรัวทองเขียว, เนื้ออ่อน; จุฬารัตน์, จุฬิศพงศ์ (2014). "รัฐสยามกับล้านนา พ.ศ. 2417-2476" [THE SIAMESE STATE AND LANNA, 1874-1933]. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6: 75. สืบค้นเมื่อ 2024-05-12.
  13. สมิธ, เฮอร์เบิร์ต วาริงตัน (2019) [1898], ห้าปีในสยาม [Five Years in Siam] (PDF), vol. 1, แปลโดย กีชานนท์, เสาวลักษณ์ (2nd ed.), กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, สืบค้นเมื่อ 2024-05-11