ข้ามไปเนื้อหา

พยัคฆ์ สิทธิพิทักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พยัคฆ์ สิทธิพิทักษ์
พยัคฆ์ สิทธิพิทักษ์ จาก บูริกิวัน
ชื่อ พยัคฆ์ สิทธิพิทักษ์
รูปแบบการต่อสู้ มวยไทย
สัญชาติ  ไทย
ส่วนสูง 180 ซม. (5 ฟุต 11 นิ้ว)
น้ำหนัก 80 กก. (176 ปอนด์)
กรุ๊ปเลือด A
สิ่งที่ชอบ ครอบครัว, ภาพยนตร์ และเกาเหลา
สิ่งที่เกลียด คอมพิวเตอร์
ผู้ให้เสียงพากย์ อะสึชิ ยะมะนิชิ
พยัคฆ์ สิทธิพิทักษ์ นักมวยไทย ในบูริกิวัน

พยัคฆ์ สิทธิพิทักษ์ (ญี่ปุ่น: パヤック・シピタック; อังกฤษ: Payak Sitipitak) เป็นตัวละครจากเกม "บูริกิวัน" ที่ผลิตโดยบริษัท SNK จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนักมวยไทยรุ่นเวลเทอร์เวท จากประเทศไทย มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือสวมกางเกงสีเขียว-แดง เขาต้องทำการต่อสู้กับนักสู้ผู้ใช้ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในศาสตร์อื่นหลากแขนง[1] ซึ่งทางผู้ผลิตได้แนวคิดเดียวกันกับการแข่งขันเค-วัน หากแต่มีความแตกต่างกันตรงที่เวทีการประลองจะไม่มีเชือกกั้น เมื่อตกเวทีแล้วต้องขึ้นมาต่อสู้ใหม่ จนกว่าจะน็อคฝ่ายตรงข้ามได้แล้วจึงค่อยพบกับนักสู้รายต่อไป นอกจากนี้บุตรชายของพยัคฆ์ยังเป็นแฟนมวยของโจ ฮิกาชิ ซึ่งเป็นนักมวยไทยชาวญี่ปุ่นที่ปรากฏตัวอยู่ในซีรีส์เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ส ผู้ให้เสียงพากย์พยัคฆ์ สิทธิพิทักษ์ คือ อะสึชิ ยะมะนิชิ (山西惇)

รูปแบบการต่อสู้ของพยัคฆ์คือการใช้ศิลปะมวยไทย ที่มีการใช้ทั้งศอกและเข่าในการโจมตีทำลาย พยัคฆ์ มีเพลงประกอบประจำตัวคือ "พาโกดา" (Pagoda) ซึ่งหมายถึง เจดีย์ ในภาษาไทย[2]

ประวัติตามท้องเรื่อง[แก้]

พยัคฆ์ สิทธิพิทักษ์ เป็นผู้ใช้วิชามวยไทยรุ่นเวลเทอร์เวท ที่ได้เข้าประลองฝีมือกับนักสู้ต่างชาติ ภายหลังจากที่ตนเกษียณตัวเองจากการเป็นแชมป์ระดับประเทศแล้ว ก็หันเข้าร่วมทำศึก "บูริกิวัน" ในเวลาต่อมา ที่จัดขึ้นใน ค.ศ. 1999 ณ กรุงโตเกียว[1] เพื่อพิสูจน์ฝีมือตัวเองอีกครั้ง ขณะที่มีอายุ 40 ปี ซึ่งเป็นนักสู้มีรูปแบบการโจมตีโดยใช้ศอกและเข่าที่หนักหน่วง ภายหลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้น เขาได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่าเขาจะพัฒนาฝีมือการต่อสู้ของตนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นอีกครั้ง เขามีสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 17 คน นอกจากนี้ พยัคฆ์ยังได้ปรากฏตัวในเกม เดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ XI ในฉากเปิดของซิลเบอร์ ซึ่งเป็นบอสจากซีรีส์เดียวกันนี้ด้วยเช่นกัน[2]

การตอบรับ[แก้]

ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 เว็บไซต์ไฟเตอร์เจเนอเรชันกล่าวถึงพยัคฆ์ว่าเป็นตัวละครนักมวยไทยที่ได้รับการพิจารณาว่ามีรูปแบบที่สุขุมเยือกเย็น ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวแทนในการนำเสนอวิชามวยไทยในโลกวิดีโอเกม โดยได้รับการประเมินระดับในรูปแบบการต่อสู้ที่ค่า 2.5, บุคลิกที่ 1.5, คะแนนการปรากฏตัวที่ 1.5, บทบาทสำคัญในซีรีส์ 2.5 และได้รับการประเมินในภาพรวมที่ระดับ 2 เท็น (天)[3]

อ้างอิง[แก้]

  • นิตยสารเกมแม็คออนไลน์ (สนพ.อนิเมทกรุ๊ป)
  • นิตยสารเมก้า (สนพ.วิบูลย์กิจ)

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]