ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย
สมเด็จพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย
ครองราชย์5 ตุลาคม ค.ศ. 1908 – 3 ตุลาคม ค.ศ. 1918
ก่อนหน้าพระองค์เองในฐานะ เจ้าชาย
ถัดไปบอริสที่ 3
เจ้าชายแห่งบัลแกเรีย
ครองราชย์7 กรกฎาคม ค.ศ. 1887 – 5 ตุลาคม ค.ศ. 1908
ก่อนหน้าอาแลกซันเดอร์
ถัดไปพระองค์เองในฐานะ ซาร์
พระราชสมภพ26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861
เวียนนา จักรวรรดิออสเตรีย
สวรรคต10 กันยายน ค.ศ. 1948
(87 พรรษา)
โคบวร์ค เยอรมนี
พระมเหสีเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งบูร์บง-ปาร์มา
เจ้าหญิงเอเลนอร์ รอสแห่งคอสทริกส์
พระราชบุตรพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรีย
เจ้าหญิงยูโดเซียแห่งบัลแกเรีย
เจ้าหญิงนาเด็จดาแห่งบัลแกเรีย
พระนามเต็ม
เยอรมัน: แฟร์ดีนันท์ มัคซีมีลีอาน คาร์ล เลออพ็อลท์
ราชวงศ์ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา
พระราชบิดาเจ้าชายออกุสต์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
พระราชมารดาเจ้าหญิงคลีเมนทีนแห่งออร์เลออง
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 240410 กันยายน พ.ศ. 2491; พระนามเมื่อประสูติ: เจ้าชายแฟร์ดีนันท์ มัคซีมีลีอาน คาร์ล เลออพ็อลท์ มาเรียแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา-โคฮารี) ทรงเป็นเจ้าชายแห่งบัลแกเรีย และหลังจากนั้นทรงดำรงเป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย ทรงเป็นทั้งนักประพันธ์,นักพฤกษาศาสตร์,นักกีฏวิทยาและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแสตมป์

ภูมิหลังราชวงศ์[แก้]

เจ้าชายแฟร์ดีนันท์ประสูติที่กรุงเวียนนา ทรงเป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์โคฮารี สายราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา พระองค์ทรงเจริญพระชันษาในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงและพระราชวงศ์ทรงมีดินแดนในสโลวาเกียและเยอรมนี ซึ่งได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ เชื้อสายราชวงศ์โคฮารีมาจากตระกูลขุนนางชาวสโลวักจากฮังการี ที่ซึ่งมีความมั่นคั่ง ดังเช่นพระราชวงศ์ทรงมีปราสาทคาบราดและปราสาทซิทโน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสโลวาเกีย ทรัพย์สินของพระราชวงศ์ได้รับการเพิ่มอีกจากราชทรัพย์ของเจ้าหญิงคลีเมนทีนแห่งออร์เลออง

พระองค์เป็นพระโอรสในเจ้าชายออกุสต์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธากับเจ้าหญิงคลีเมนทีนแห่งออร์เลออง ซึ่งเป็นพระธิดาในพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เจ้าชายแฟร์ดีนันท์เป็นพระนัดดาในดยุคเออร์เนสต์ที่ 1 แห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ก็อตธา และสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์แรกของเบลเยียม เจ้าชายออกุสต์ ผู้เป็นพระบิดาของพระองค์เป็นพระอนุชาในพระเจ้าฟือร์นังดูที่ 2 แห่งโปรตุเกสและเป็นพระญาติชั้นหนึ่งในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร,เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี,สมเด็จพระจักรพรรดินีการ์โลตาแห่งเม็กซิโกและสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม ทั้งพระเจ้าเลออปอลและจักรพรรดินีการ์โลตายังเป็นพระญาติชั้นหนึ่งของเจ้าชายแฟร์ดีนันท์ผ่านทางพระมารดาของพระองค์อีกด้วย ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธาจึงเป็นราชวงศ์ที่เข้มแข็งโดยการที่มีดินแดนในปกครองมาก รวมทั้งการอภิเษกสมรสระหว่างราชวงศ์ ตามมาด้วยการที่เจ้าชายแฟร์ดีนันท์ทรงสถาปนาราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธาในบัลแกเรีย อีกทั้งเจ้าชายแฟร์ดีนันท์ยังทรงมีเชื้อสายของผู้ปกครองบัลแกเรียตั้งแต่สมัยยุคกลาง



เจ้าชายแห่งบัลแกเรีย[แก้]

เจ้าชายแห่งราชรัฐบัลแกเรียที่ 3 พระองค์แรก คือ เจ้าชายอเล็กซานเดอร์แห่งบาทเทนเบิร์ก พระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ในปีพ.ศ. 2429 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 7 ปีหลังจากทรงได้รับเลือกให้เป็นเจ้าชายแห่งบัลแกเรีย เจ้าชายแฟร์ดีนันท์ได้รับเลือกให้สืบราชสมบัติต่อโดยสมัชชาแห่งชาติของประเทศในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 ตามปฏิทินเกรกอเรียน ซึ่งได้สิทธิจากการต่อต้านอิทธิพลของรัสเซียอย่างรุนแรง ได้มีการเสนอบัลลังก์แก่ราชนิกุลอื่นก่อนเจ้าชายแฟร์ดีนันท์ จากเจ้าชายเดนมาร์กถึงแถบคอเคซัสและแม้แต่กษัตริย์แห่งโรมาเนีย การขึ้นครองราชย์ของพระองค์ได้รับการไม่ยอมรับจากหลายๆราชวงศ์ในยุโรป สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นพระญาติชั้นหนึ่งของพระบิดาของพระองค์ได้กล่าวกับนายกรัฐมนตรีของพระนางว่า "เขาไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ... ละเอียดอ่อน,นอกรีต,อ่อนแอ เราต้องหยุดยั้งความคิดของเขาเดี๋ยวนี้" แม้ว่าในช่วงต้นเจ้าชายแฟร์ดีนันท์ทรงถูกให้ร้ายต่างๆแต่พระองค์ก็ประสบความสำเร็จในการครองราชย์ครบรอบ 10 ปีครั้งแรก

บทบาททางการเมืองของพระองค์ในช่วงแรกทรงถูกครอบงำโดยผู้นำพรรคเสรีนิยม สเตฟาน สตัมโบลอฟ ซึ่งมีนโยบายห่างเหินกับรัสเซียและสนับสนุนออสเตรีย

ชีวิตส่วนพระองค์[แก้]

เจ้าชายเฟร์ดินันท์แห่งบัลแกเรียทรงถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกรักร่วมสองเพศ เนื่องจากพระอิริยาบถในบางครั้งของพระชนม์ชีพของพระองค์จะทรงหนักไปทางสตรีเสียมากกว่า

พระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์กับเจ้าหญิงมารี หลุยส์ พระมเหสีองค์แรก

เจ้าชายเฟร์ดินันท์แห่งบัลแกเรียทรงอภิเษกสมรสโดยการถูกคลุมถุงชนกับเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งปาร์มา พระราชธิดาในดยุคโรเบิร์ตที่ 1 แห่งปาร์มา ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2436 ที่วิลลา พิเอนอร์ ในลูคคา ประเทศอิตาลี ทั้ง 2 พระองค์มีพระโอรส-ธิดารวมกัน 4 พระองค์ ได้แก่

เจ้าหญิงมารี หลุยส์สิ้นพระชนม์ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2442 หลังจากมีพระประสูติกาลพระธิดาองค์สุดท้อง เจ้าชายเฟร์ดินันท์ทรงไม่อภิเษกสมรสอีกจนกระทั่งเจ้าหญิงคลีเมนทีน พระชนนีสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2450 เพื่อสร้างความมั่นคงแก่พระราชวงศ์และพระโอรสธิดาต้องการผู้ดูแล เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอเลนอร์ รอสแห่งคอสทริกส์ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451

เจ้าชายเฟร์ดินันท์ทรงนิยมไปพักผ่อนที่ชายหาดคาพริ ประเทศอิตาลี ทรงมีความสำราญพระทัยมาก ซึ่งพระองค์ได้เป็นต้นแบบของราชวงศ์ยุโรปที่ไม่เป็นไปตามธรรมเนียม

จุดตกต่ำของสตัมโบลอฟและนำไปสู่การลอบสังหารเขาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2438 นำไปสู่การปรองดองกันอีกครั้งระหว่างรัสเซียและบัลแกเรียในกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 และการเปลี่ยนแปลงนิกายทางศาสนาของเจ้าชายบอริส พระโอรสจากโรมันคาทอลิกสู่ออร์ทอด็อกซ์ซึ่งได้รับการชมเชยจากรัสเซีย แต่ได้รับการต่อต้านจากพระญาติของพระองค์สายออสเตรียซึ่งเป็นโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะสร้างความเกลียดชังให้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรียพระปิตุลาของพระองค์

พระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย[แก้]

เจ้าชายเฟร์ดินันท์ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย ซึ่งมาจากการประกาศเอกราชอย่างสมบูรณ์จากจักรวรรดิออตโตมันในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2451 และเฉลิมฉลองการประกาศเอกราชในวันที่ 22 กันยายน คำประกาศอิสรภาพได้ประกาศขึ้นที่โบสถ์นักบุญมรณสักขีทั้ง 40 พระองค์(Saint Forty Martyrs Church)ในทูร์โนโว และได้รับการยอมรับจากตุรกีและมหาอำนาจอื่นๆในยุโรป

พิธีอภิเษกสมรส พระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์ที่ 1 แห่งบัลแกเรียกับพระมเหสีพระองค์ที่ 2 เจ้าหญิงเอเลนอร์ รอส

พระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์ทรงมีอำนาจในการปกครองอย่างสมบูรณ์ ในการเสด็จพบปะกับสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี พระญาติของพระองค์ทั้ง 2 พระองค์ได้ถูกปลดจากตำแหน่ง ในปีพ.ศ. 2452 พระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์ทรงประทับพิงอยู่ที่หน้าต่างในพระราชวังที่พอตสดัม เมื่อจักรพรรดิได้ทรงพระดำเนินมาข้างหลังพระองค์และทรงตบพระปฤษฎางค์พระองค์ พระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์ทรงรู้สึกถึงการถูกดูหมิ่นจากอิริยาบถครั้งนี้และพระจักรพรรดิทรงขอโทษพระองค์ อย่างไรก็ตามพระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์ทรงแค้นพระทัย พระองค์ทรงแก้แค้นโดยการพระราชทานตราเยอรมันที่มีค่ามากไปที่โรงงานครุฟฟ์ในเอสเซน เพื่อเปลี่ยนเป็นตราฝรั่งเศส ซึ่งเป็นศัตรูกับเยอรมนี เหตุการณ์อื่นเช่น เมื่อขณะที่พระองค์ทรงเดินทางไปร่วมพระราชพิธีพระบรมศพของพระญาติชั้นสองของพระองค์ซึ่งก็คือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 เกิดเหตุต่อสู้ แย่งชิงของชาวบ้านซึ่งขวางขบวนเสด็จรถไฟของพระองค์ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นในจุดขบวนของอาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งออสเตรีย-ฮังการี แต่อาร์ชดยุกทรงได้รับการเสด็จไปก่อนพระองค์โดยพวกข้าราชบริพารได้นำเชื้อเพลิงจากขบวนของพระเจ้าซาร์ไปเติมแก่ขบวนของอาร์ชดยุก ทำให้พระเจ้าซาร์เสด็จไปหลังสุด ในภายหลังรถของอาร์ชดยุกถูกขวางโดยรถอาหารของพระเจ้าซาร์ พระองค์ทรงแก้แค้นโดยปฏิเสธที่จะให้รถของอาร์ชดยุกเสด็จผ่านก่อนรถอาหารของพระองค์ ในวันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกันระหว่างเสด็จประพาสเบลเยียม พระองค์ได้กลายเป็นพระประมุขของรัฐพระองค์แรกทีทรงขับเครื่องบินด้วยพระองค์เอง

สงครามบอลข่าน[แก้]

พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย

พระองค์มีพระดำริเหมือนกับประมุขประเทศที่นับถือนิกายออร์ทอด็กซ์ คือ "การสถาปนาจักรวรรดิไบแซนไทน์ยุคใหม่" ในปีพ.ศ. 2455 พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ทรงร่วมมือกับรัฐบอลข่านต่างๆในการโจมตีจักรวรรดิออตโตมันเพื่อยึดครองดินแดน พระองค์ทรงมีความเชื่อว่าสงครามนี้คือสงครามครูเสดยุคสมัยใหม่ พระองค์มีพระราชโองการว่า "นี่คือการศึกครั้งยิ่งใหญ่และอำนาจแห่งกางเขนจะสามารถต้านทานอำนาจแห่งจันทราเสี้ยว" ชาวบัลแกเรียสนับสนุนการศึกครั้งนี้มากที่สุดและสูญเสียทหารมากที่สุดด้วย มหาอำนาจยืนยันที่จะให้อิสระแก่แอลเบเนีย ไม่ช้าไม่นานบัลแกเรียได้โจมตีอดีตพันธมิตรเซอร์เบียและกรีซ และบัลแกเรียถูกโรมาเนียและจักรวรรดิออตโตมันโจมตีและบัลแกเรียพ่ายแพ้ อย่างไรก็ตามในการลงนามในสนธิสัญญาบูคาเรสต์(1913) บัลแกเรียได้ดินแดนไปบางส่วน คือพื้นที่เล็กๆทำให้ได้มีชายฝั่งติดต่อกับทะเลอีเจียน

สงครามโลกครั้งที่ 1 และการสละราชบัลลังก์[แก้]

ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2458 กองทัพบัลแกเรียได้โจมตีเซอร์เบียหลังจากบัลแกเรียได้ลงนามสนธิสัญญากับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนี ที่ซึ่งสัญญาจะให้ดินแดนของเซอร์เบียเป็นการตอบแทนบัลแกเรีย เรียกศึกนี้ว่า ยุทธการเซอร์เบีย พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์มิได้ชื่นชอบแนวทางของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี ผู้เป็นพระญาติหรือสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย พระปิตุลา พระเจ้าซาร์ตรัสถึงจักรพรรดิออสเตรียว่า "ฟรานซิส โจเซฟเป็นตาแก่ที่บ้าและขี้หลงขี้ลืม" แต่เนื่องจากทรงต้องการผลประโยชน์ในดินแดนต่างๆหลังจากพ่ายแพ้ในสงครามบอลข่าน ทำให้พระองค์ต้องผูกสัมพันธไมตรีกับศัตรูเก่าคือ จักรวรรดิออตโตมัน

ในช่วงที่สงครามกำลังดำเนินอยู่ เซอร์เบียพ่ายแพ้สงคราม และบัลแกเรียได้ครอบครองดินแดนมาซิโดเนีย 2 ปีต่อมาบัลแกเรียต้องต่อสู้กับกองทัพสัมพันธมิตรที่ประจำการอยู่ในกรีซ และทหารบัลแกเรียอีกส่วนหนึ่งสามารถโจมตีและยึดครองโรมาเนียในปีพ.ศ. 2459

จากนั้น ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2461 กองทัพบัลแกเรียได้ถูกโจมตีโดยกองทัพสัมพันธมิตรในกรีซ ด้วยที่ทรงทำให้กองทัพพ่ายแพ้ พระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์ทรงแสดงความรับผิดชอบโดยสละราชบัลลังก์เพื่อปกปักษ์รักษาบัลแกเรียไว้ พระโอรสของพระองค์ได้ครองราชย์สืบต่อพระนามว่า พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ภายใต้การนำของรัฐบาลใหม่ บัลแกเรียได้ประกาศยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตร เป็นผลให้สูญเสียดินแดนเพียงเล็กน้อย และยังได้รับดินแดนที่ต่อสู้แล้วได้รับมาตั้งแต่สมัยสงครามบอลข่านคืนมาและเข้าถึงทะเลอีเจียน

การเนรเทศและเสด็จสวรรคต[แก้]

พระราชวงศ์ของพระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์
พระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์ อดีตพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรียในปีพ.ศ. 2471

หลังจากทรงสละราชสมบัติ พระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์เสด็จกลับไปพำนักที่ โคบูร์ก ประเทศเยอรมนี พระองค์ได้จัดการกอบกู้ทรัพย์ของพระองค์ และทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างมีแบบแผน พระองค์ทรงเห็นว่าการเนรเทศกษัตริย์เป็นการสร้างความไม่มั่นคงของระบอบกษัตริย์ พระองค์ทรงเสนอความคิดเห็นว่า

การเนรเทศกษัตริย์ถือเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมมากจนกลายเป็นความผิดพลาดของบุคคล แต่ปรัชญาของกษัตริย์นั้นเป็นหลักธรรมและจรรยา และอย่าลืมเลือนความภาคภูมิใจที่เป็นสิ่งสำคัญแห่งระบอบกษัตริย์ เรามีระเบียบวินัยตั้งแต่กำเนิดมาและได้รับการสอนให้หลีกเลี่ยงกิริยาที่เป็นสัญญาณถึงอารมณ์ โครงกระดูกจะนั่งอยู่กับเราตลอดไปแม้เป็นงานรื่นเริง มันอาจหมายถึง อาจมีการฆาตกรรมหรือหมายถึง การล้มล้างบัลลังก์ แต่มันช่วยเป็นเครื่องเตือนใจให้เราเตรียมพร้อมตลอดเวลาแม้เป็นสิ่งที่เราไม่คาดคิด ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมใจยอมรับสิ่งนั้นแม้อาจจะไม่มาในรูปแบบภัยพิบัติ สิ่งสำคัญในชีวิตคือการสนับสนุนสถานภาพทางสังคม หรือการขับไล่สิ่งทางใจด้วยความมีเกรียติ ถ้ามื้ออาหารนั้นมีความโศกเศร้า เราไม่จำเป็นต้องเชิญโลกมาดูคุณทานอาหารมื้อนั้น[1]

— พระเจ้าซาร์เฟร์ดินันท์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย

พระองค์ทรงดีพระทัยที่พระโอรสได้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์ แต่ทรงไม่พอพระทัยที่ถูกเนรเทศ และพระองค์ทรงใช้เวลากับศิลปะ การทำสวน การท่องเที่ยว และประวัติธรรมชาติ อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงได้รับรู้ถึงหายนะขณะที่ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ พระโอรสของพระองค์ พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย เสด็จสวรรคตอย่างลึกลับหลังจากเข้าพบปะกับฮิตเลอร์ที่เยอรมนี ในปีพ.ศ. 2486 พระโอรสของพระเจ้าซาร์บอริสได้ครองราชย์ พระนาม พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย และพระราชวงศ์ถูกล้มล้างในปีพ.ศ. 2489 ถือเป็นจุดสิ้นสุดระบอบกษัตริย์แห่งบัลแกเรีย ราชอาณาจักรบัลแกเรียถูกเปลี่ยนเป็น สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรีย พระโอรสของพระองค์เอง ได้ถูกตัดสินประหารชีวิต เมื่อพระองค์ทรงทราบข่าวการประหารเจ้าชายคิริล ตรัสว่า "ทุกๆสิ่งรอบตัวฉันล้วนเป็นหายนะ" พระองค์ได้เสด็จสวรรคตในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2491 ที่โคบูร์ก ประเทศเยอรมนี ความปรารถนาสุดท้ายของพระองค์คือ การฝังพระบรมศพพระองค์ในบัลแกเรีย แต่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ไม่ยินยอมจึงต้องฝังพระบรมศพของพระองค์ไว้ที่โคบูร์ก

อ้างอิง[แก้]

  • Aronson, Theo (1986). Crowns In Conflict: The Triumph And The Tragedy Of European Monarchy, 1910-1918. London: J.Murray. ISBN 0-7195-4279-0.
  • Finestone, Jeffrey (1981). The Last Courts of Europe. London: J.M.Dent & Sons Ltd. ISBN 0 460 04519 9.
  • Louda, Jiri (1981). Lines of Succession. London: Orbis Publishing Ltd. ISBN 0 460 04519 9. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Constant, Stephen (1986). Foxy Ferdinand, 1861-1948, Tsar of Bulgaria. London: Sidgwick and Jackson. ISBN 0-238-98515-1. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: checksum (help)
  • Palmer, Alan (1978). The Kaiser: Warlord Of The Second Reich. London: Weidenfeld and Nicolson. ISBN 0-297-77393-3.
ก่อนหน้า พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย ถัดไป
เจ้าชายอเล็กซานเดอร์แห่งบัลแกเรีย
เจ้าชายแห่งบัลแกเรีย
(บัลแกเรีย)

(7 กรกฎาคม พ.ศ. 24305 ตุลาคม พ.ศ. 2451)
ตำแหน่งพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย
ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมัน
ตำแหน่งใหม่
พระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย
(บัลแกเรีย)

(5 ตุลาคม พ.ศ. 24513 ตุลาคม พ.ศ. 2461)
พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย