ข้ามไปเนื้อหา

สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Institute of Engineering
Suranaree University of Technology
ตราสัญลักษณ์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
สถาปนา15 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 (31 ปี)
คณบดีรศ. ดร.พรศิริ จงกล
ที่อยู่
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เลขที่ 111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
สี  สีองุ่นแดงเบอร์กันดี
มาสคอต
ฟันเฟือง
เว็บไซต์https://eng.sut.ac.th

สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อังกฤษ: Institute of Engineering, Suranaree University of Technology) จัดการเรียนการสอนที่หลากหลายแยกเป็นสาขาวิชา (คำว่า สาขาวิชาจะเทียบเท่ากับ ภาควิชาของมหาวิทยาลัยทั่วไป) ซึ่งในหนึ่งสาขาวิชาจะรับผิดชอบการเรียนการสอนและผลิตบัณฑิตทั้ง ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยไม่มีบัณฑิตวิทยาลัย

ประวัติ[แก้]

สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เริ่มภารกิจด้านการเรียนการสอนทันทีที่มหาวิทยาลัยเสร็จสิ้นการพัฒนาอาคารสิ่งก่อสร้าง โดยเริ่มเปิดรับนักศึกษา เป็นครั้งแรกในระดับปริญญาตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2536 ภายใต้การบริหารจัดการของ สำนักวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และ สำนักวิชาเทคโนโลยีทรัพยากร ต่อมามหาวิทยาลัยฯ ได้ออกข้อกำหนดในการรวมทั้งสองสำนักวิชาดังกล่าว รวมทั้ง สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรจากสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร เข้าด้วยกันรวมทั้งสิ้น 15 สาขาวิชา เป็น สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นมา

ปัจจุบัน สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสำนักวิชา 1 ในจำนวน 9 สำนักวิชา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี คำว่า สำนักวิชา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เทียบเท่ากับคำว่า คณะ ในมหาวิทยาลัยทั่วไป โดยมี คณบดี เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบ ซึ่งสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ที่ผ่านมามีสัมฤทธิผลรวม ทั้งสิ้นประมาณร้อยละ 70 ของจำนวนการผลิตบัณฑิตทั้งหมดของมหาวิทยาลัยฯ

หลักสูตร[แก้]

สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทำการเปิดสอนในหลากหลายสาขาวิชาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

หลักสูตรที่เปิดสอนโดยสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตอัจฉริยะ
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ
สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ
สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ขนส่ง และทรัพยากรธรณี
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ขนส่ง และทรัพยากรธรณี
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและอากาศยาน (หลักสูตรนานาชาติ)
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ
สาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมและโครงข่ายอัจฉริยะ
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ขนส่ง และทรัพยากรธรณี
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ขนส่ง และทรัพยากรธรณี
สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบสมองกลฝังตัว
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมธรณี
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียมและเทคโนโลยีธรณี
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ขนส่ง และทรัพยากรธรณี
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ขนส่ง และทรัพยากรธรณี
สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบ
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบการผลิต (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรม (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสมองกลฝังตัวอัจฉริยะและอิเล็กทรอนิกส์ความถี่สูง (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการข้อมูล (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง (หลักสูตรนอกเวลา)
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบ (หลักสูตรนอกเวลา)
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ (หลักสูตรนอกเวลา)
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนอกเวลา)
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (หลักสูตรนอกเวลา)
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง (หลักสูตรนอกเวลา)

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
วาระการดำรงตำแหน่ง รายนาม ตำแหน่ง
2 พฤศจิกายน 2535 - 23 เมษายน 2536 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี เลิศปัญญาวิทย์ ผู้รักษาการในตำแหน่งคณบดี สำนักวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
2 พฤศจิกายน 2535 - 23 เมษายน 2536 รองศาสตราจารย์ ดร.เกษม ปราบริปูตลุง ผู้รักษาการในตำแหน่งคณบดี สำนักวิชาเทคโนโลยีทรัพยากร
24 เมษายน 2536 - 27 กุมภาพันธ์ 2543 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี เลิศปัญญาวิทย์ คณบดีสำนักวิชาสำนักวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
24 เมษายน 2536 - 15 มิถุนายน 2542 รองศาสตราจารย์ ดร.เกษม ปราบริปูตลุง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีทรัพยากร
16 มิถุนายน 2542 - 27 กุมภาพันธ์ 2543 รองศาสตราจารย์ ดร.เกษม ปราบริปูตลุง คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
28 กุมภาพันธ์ 2543 - 2 กันยายน 2544 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี เลิศปัญญาวิทย์ คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
3 กันยายน 2544 - 2 กันยายน 2548 รองศาสตราจารย์ นาวาอากาศเอก ดร.วรพจน์ ขำพิศ คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
3 กันยายน 2548 - 4 กันยายน 2552 รองศาสตราจารย์ นาวาอากาศเอก ดร.วรพจน์ ขำพิศ คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
5 กันยายน 2552 - 30 กันยายน 2554 รองศาสตราจารย์ นาวาอากาศเอก ดร.วรพจน์ ขำพิศ คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
1 ตุลาคม 2554 - 30 กันยายน 2558 รองศาสตราจารย์ เรืออากาศเอก ดร.กนต์ธร ชำนิประศาสน์ คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2562 รองศาสตราจารย์ เรืออากาศเอก ดร.กนต์ธร ชำนิประศาสน์ คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
1 ตุลาคม 2562 - 20 ธันวาคม 2562 รองศาสตราจารย์ เรืออากาศเอก ดร.กนต์ธร ชำนิประศาสน์ คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
21 ธันวาคม 2562 - 26 มกราคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.พรศิริ จงกล คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
27 มกราคม 2567 - ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ดร.พรศิริ จงกล คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]