โฆเซ เด ซาน มาร์ติน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฆเซ เด ซาน มาร์ติน
Portrait of José de San Martín, raising the flag of Argentina
ผู้พิทักษ์แห่งเปรู
ดำรงตำแหน่ง
28 กรกฎาคม 1818 – 20 กันยายน 1822
ถัดไปFrancisco Xavier de Luna Pizarro
ผู้สถานปนาอิสรภาพและเอกราช , บิดาแห่งสาธารณรัฐ, ผู้พิทักษ์แห่งเปรู และจอมพลสูงสุดแห่งกองทัพ
(ad honorem)
ดำรงตำแหน่ง
28 กรกฎาคม 1818 – 17 สิงหาคม 1850 (เสียชีวิต)
ผู้ว่าราชการแห่งกูโย
ดำรงตำแหน่ง
10 สิงหาคม 1818 – 24 กันยายน 1818
ก่อนหน้าMarcos González de Balcarce
ถัดไปToribio de Luzuriaga
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1778(1778-02-25)
ยาเปยู, คอร์เรียนเตส, เขตอุปราชแห่งรีโอเดลาปลาตา (ปัจจุบัน ประเทศอาร์เจนตินา)
เสียชีวิต17 สิงหาคม ค.ศ. 1850(1850-08-17) (72 ปี)
บูลง-ซูร์-แมร์, ประเทศฝรั่งเศส
เชื้อชาติอาร์เจนตินา
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองPatriot
คู่สมรสMaría de los Remedios de Escalada y la Quintana
บุตรMaría de las Mercedes Tomasa de San Martín y Escalada
วิชาชีพทหาร
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
ประจำการ1789–1822
ยศนายพลแห่งอาร์เจนตินา, ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งชิลีและเปรู
บังคับบัญชากรมทหารภูเขากรานาเดโรส, กองทัพจากตอนเหนือ, กองทัพแอนดีส, กองทัพบกชิลี
สงคราม/การสู้รบสงครามประสานมิตรครั้งที่สอง
War of the Oranges
สงครามคาบสมุทร

สงครามประกาศเอกราชลาตินอเมริกา

อนุสาวรีย์ที่เมืองกัวยากิล ที่ซึ่งโฆเซ เด ซาน มาร์ติน มาพบกับซิมอน โบลิบาร์ เป็นครั้งแรก

โฆเซ ฟรันซิสโก เด ซาน มาร์ติน มาตอร์รัส หรือ โฆเซ เด ซาน มาร์ติน (สเปน: José Francisco de San Martín Matorras หรือ José de San Martín) (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2321 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2393) เป็นนายพลชาวอาร์เจนตินาผู้ซึ่งเป็นผู้นำในการประกาศเอกราชอเมริกาใต้ตอนล่าง (อาร์เจนตินา, ชิลี, และเปรู) จากประเทศสเปน

ประวัติ[แก้]

ชีวิตวัยเด็ก[แก้]

โฆเซ เด ซาน มาร์ตินเป็นบุตรคนที่ 5 และคนสุดท้องของฆวน เด ซาน มาร์ติน และเกรกอเรีย มาร์ตอร์รัส เดล เซอร์ เกิดที่เมืองยาเปยู จังหวัดคอร์เรียนเตส ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินาในปัจจุบัน มีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับปีเกิดที่แท้จริงของเขา เช่นเดียวกับการเข้าพิธีศีลล้างบาปที่ไม่มีบันทึกไว้ ต่อมาเอกสารอื่น เช่น หนังสือเดินทาง, บันทึกการแต่งงาน, และบันทึกการเป็นทหาร บ่งชี้ว่าปีเกิดของซาน มาร์ตินนั้นอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1777-1778 เมื่อซาน มาร์ตินอายุได้ 3-4 ปี ครอบครัวของเขาย้ายไปยังบัวโนสไอเรส

ในปี ค.ศ. 1783 ฆวน พ่อของเขาได้รับคำขอให้ย้ายไปสเปน ครอบครัวของซาน มาร์ตินได้ตั้งถิ่นฐานที่เมืองมาดริด แต่ฆวนไม่ได้รับการเลื่อนขั้นจึงได้ย้ายไปยังเมืองมาลากา ต่อมาในปี ค.ศ.1785 ซาน มาร์ตินได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนในมาลากา และ เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยในหน่วยทหารราบเมอร์เชียน เมื่ออายุได้ 11 ปี

ราชการทหารในทวีปยุโรป[แก้]

สงครามประกาศเอกราชลาตินอเมริกา[แก้]

ในปี ค.ศ. 1811 เขาได้ออกจากกองทัพสเปนและลงเรือ จอร์จ แคนนิง จากประเทศอังกฤษกลับไปยังกรุงบัวโนสไอเรสซึ่งเป็นที่ที่เขาเติบโต และเดินทางถึงในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1812 พร้อมกับเพื่อนของเขา ไม่นานหลังจากนั้น ซาน มาร์ตินได้ก่อตั้งกรมทหารกรานาเดโรสขึ้น ต่อมาในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1817 ซาน มาร์ตินได้นำกองทัพแอนดีสซึ่งเป็นกองทัพปลดปล่อยจำนวน 4,000 คน ซึ่งเขาได้ฝึกด้วยตัวเขาเอง แบ่งทัพออกเป็นทัพย่อย 6 ทัพ แต่ละทัพใช้เส้นทางเดินทางแตกต่งกัน ข้ามเทือกเขาแอนดีส สู้รบกับกองทัพของสเปน และสามารถพิชิตกรุงซานเตียโกของชิลีได้

ถัดจากชิลี เขาได้วางแผนการรบที่จะบุกเปรูโดยทางทะเล แล้วได้ขึ้นบกที่เมืองปิสโก เปรู ในเวลาดังกล่าวนี้ ซาน มาร์ติน ได้ประกาศต่อกองทัพทั้งหมดว่า "ที่พวกเรามาที่นี่ ไม่ใช้เพื่อเอาชนะด้วยกำลัง แต่เพื่อปลดปล่อยประชาชน" แต่เมื่อไปถึงเปรู เขาก็พบกับปัญหาใหม่จากคำถามของชาวเมืองว่า ทำไมต้องปฏิวัติปลดแอก เปรูนั้นถือว่าล้าหลังที่สุดในจำนวนเขตทั้งหมดของสเปน ชาวเมืองไม่ได้รับผลกระทบจากสเปนมากนัก ชนชั้นต่าง ๆ ไม่ได้แบ่งแยกมากมายเหมือนที่อื่น ซาน มาร์ตินต้องชะลอการโจมตีกรุงลิมาออกไปและเผยแพร่ความคิดเรื่องเสรีภาพจนชาวเปรูเริ่มเข้าใจและมองเห็น เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1821 เขาก็สามารถปลดปล่อยกรุงลิมาได้สำเร็จ ในวันที่ 28 กรกฎาคม ซาน มาร์ติน ก็ได้ประกาศปลดปล่อยเปรูต่อหน้าประชาชนที่ได้มาชุมนุมกันที่จัตุรัส

แม้เปรูจะสามารถประกาศเอกราชได้แล้ว แต่ก็ยังคงต้องสู้รบกับกองทัพสเปนอีกหลายครั้งเพื่อให้บรรลุการเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ ช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ขณะที่ซาน มาร์ติน ได้เคลื่อนไหวการปลดปล่อยจากชิลี ขึ้นไปทางทิศเหนือนั้น ซิมอน โบลิบาร์ ก็กำลังเคลื่อนไหวปลดปล่อยอเมริกาใต้ในทางตอนเหนืออยู่เช่นกัน ซาน มาร์ติน คิดว่า เพื่อเอกราชของเปรูจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับกองทัพของโบลิบาร์ ทั้งสองจึงได้กำหนดที่จะพบกันที่เมืองกัวยากิล ซึ่งอยู่ในประเทศเอกวาดอร์ในปัจจุบัน

หลังจากการพบปะพูดคุยกัน ซาน มาร์ติน จึงสรุปได้ว่า จะมอบหมายการปลดปล่อยเปรูให้สำเร็จแก่ซิมอน โบลิบาร์ และเขาได้คืนตำแหน่งและอำนาจที่ตัวเขาได้รับมาในการประชุมรัฐสภาครั้งที่ 1 ของเปรู

บั้นปลายชีวิต[แก้]

หลังจากนั้น ซาน มาร์ติน ก็ได้เดินทางออกจากเปรูไปชิลี บัวโนสไอเรส และข้ามไปยังยุโรป แล้วได้ปิดฉากชั่วชีวิตด้วยวัย 72 ปีที่บูลง-ซูร์-แมร์ ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1850

อ้างอิง[แก้]

  • โฮโงะคู, 2555, ปฏิวัติมนุษย์ใหม่, วารสารสร้างคุณค่า, ปีที่ 27, ฉบับที่ 315, หน้า 50
  • Pablo A. Chami, Biography of San Martin, http://www.pachami.com/English/ressanmE.htm, 2012-03-15
  • Immortaxio135
  • Jose de San Martin,https://en.wikipedia.org/wiki/Jos%C3%A9_de_San_Mart%C3%ADn
  • อนันตชัย จินดาวัฒน์,World History from Stone Age to Globalization,หน้า 399-400


อัตชีวประวัติ[แก้]

  • Lynch, John. San Martin: Argentine Soldier, American Hero
  • Lynch, John. The Spanish American Revolutions 1808-1826 (2nd ed. 1986)
  • Abad de Santillán, Diego (1965). Historia Argentina (ภาษาสเปน). Buenos Aires: TEA (Tipográfica Editora Argentina).
  • Camogli, Pablo; de Privitellio, Luciano (2005). Batallas por la Libertad (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Aguilar. ISBN 978-987-04-0105-6.
  • Galasso, Norberto (2000). Seamos libres y lo demás no importa nada [Let us be free and nothing else matters] (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Colihue. ISBN 978-950-581-779-5.
  • Mayochi, Enrique Mario. "San Martín visto por los artistas" [San Martín saw by artists] (ภาษาสเปน). San Martín National Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 14 July 2012.{{cite web}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Documentos para la historia del Libertador General San Martín [Documents for the history of Liberator General San Martín] (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Instituto Nacional Sanmartiniano and Museo Histórico Nacional. 1953.
  • Crow, John (17 January 1992). The Epic of Latin America. Berkeley, California: University of California Press. ISBN 978-0-520-07723-2.
  • Dellepiane, Carlos (1965). Historia militar del Perú [Military history of Peru] (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Círculo Militar.
  • Espíndola, Adolfo (1962). San Martín en el Ejército Español en la península [San Martín in the Spanish Army in the peninsula] (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Comisión Nacional Ejecutiva del 150 Aniversario de la Revolución de Mayo.
  • Harvey, Robert (2000). Liberators: Latin America's Struggle For Independence. New York: The Overlook Press, Peter Mayer Publishers. ISBN 978-1-58567-072-7.
  • Higgins, James (2014). The Emancipation of Peru: British Eyewitness Accounts. Online at https://sites.google.com/site/jhemanperu
  • Levene, Ricardo (1936). Historia de la Nación Argentina [History of the Argentine Nation] (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Editorial El Ateneo.
  • Montes i Bradley, Ricardo Ernesto (1952). El agricultor José de San Martín [The farmer José de San Martín] (ภาษาสเปน). Mexico: Editorial Perspectivas.
ก่อนหน้า โฆเซ เด ซาน มาร์ติน ถัดไป
None President of Peru
(1821–1822)
Francisco Xavier de Luna Pizarro
José Miguel Carrera Commander-in-Chief of the Army of Chile
(1817–1819)
Bernardo O'Higgins
Marcos González de Balcarce Governor of Cuyo
(1814–1816)
Toribio Luzuriaga